Custom Search

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลักการออกแบบกราฟิก THE PRINCIPLE OF GRAPHIC DESIGN


หลักการดำเนินงานและการวางแผนขั้นต้นของการออกแบบกราฟฟิกมีดังนี้
1 วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ผู้ออกแบบต้องรู้ว่า จะบอกกล่าว เรื่องราวข่าวสารอะไรแก่ผู้รับรู้บ้าง เช่น ทฤษฎีหรือหลักการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องรู้วิธีการนำเสนอ (Presentation) ที่ดีและเหมาะสมกับเรื่องราวเหล่านั้นว่ามีเป้าหมายของการออกแบบเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อแนะนำ เผยแพร่ เพื่อให้ความรู้ หรือความบันเทิงเป็นต้น
2 กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แบ่งเป็นเพศ ชาย หญิง ่หรือบุคคลทั่วไป มีช่วงอายุเท่าใด นิสิตนักศึกษาหรือเฉพาะกลุ่มสนใจ ข่าวสารที่ให้มีระดับความยาก-ง่าย หรือมีความเป็นสากลหรือไม่ เฉพาะคนในประเทศหรือชาวต่างชาติ ซึ่งผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อวางแผน ดำเนินการกับข่าวสาร ออกแบบ และการนำเสนอให้ตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ถูกต้อง
3 สิ่งที่ต้องการบอกคืออะไร หมายถึง วิธีการที่จะสื่อความหมายกับผู้รับรู้หรือกลุ่มเป้าหมาย และถ้าที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ล่วงหน้า ชัดเจนแล้วก็จะทำให้ผู้ออกแบบมีความสะดวกในการที่จะบอกหรือสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น เช่น การเลือกใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพประกอบต่าง ๆสื่อแทนคำศัพท์ ข้อความที่เป็นนามธรรม ได้ตรงตามระดับความสามารถในการรับรู้ของผู้รับ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของข่าวสารนั้น ๆ จำได้ในเวลาอันรวดเร็วและจดจำไว้ตลอดไป
4 นำเสนอข่าวสารด้วยสื่อใด แบบใด ผู้ออกแบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของสื่อ ศักยภาพของสื่อชนิดต่างๆ คำนึงถึงการเลือกใช้สื่อในการนำเสนอข่าวสารเป็นรูปแบบใด จึงจะได้ผลดีมีความเหมาะสมกับข่าวสาร และผู้ออกแบบควรจะใช้วิธีการจัดการกับข่าวสารนั้น อย่างไร จึงจะสามารถโน้มน้าวจิตใจและสื่อความหมายต่อผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

การออกแบบกราฟิก ส่วนใหญ่เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงการสื่อความหมายในลักษณะของตัวอักษรและภาพในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางทัศนสัญลักษณ์ (Visual form) ดังนั้นในการออกแบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยว การมองเห็นและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบในการออกแบบ ( DESIGN ELEMENTS )
1. จุด (Point) จะเป็นจุดที่ชี้ให้เห็น ตำแหน่งในที่ว่าง หรือที่ต่างๆ ไม่มีความกว้าง ความยาว
ความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ ไม่มีทิศทาง ไม่ครอบคลุมพื้นที่ จุดจะเกิดอยู่ในบริเวณต่างๆดังเช่น จุด A จุด B ดังภาพ

2. เส้น (Line) เส้นเกิดจากการนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกัน หรือเกิดจากจุดเคลื่อนที่ เส้นทางที่จุดเคลื่อนที่ไปคือ เส้น มีความยาว ไม่มีความกว้างหรือความหนามาก การกำหนดทิศทางของเส้นให้อยู่ในแนวที่ต่างกัน จะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน ดูมั่นคง บางครั้งดูเคลื่อนไหว และเจริญงอกงาม เติบโต เช่น
เส้นตั้ง (Vertical Line) ให้ความรู้สึกสูงสง่า แข็งแรง มั่นคง ถ้าสูงมาก ๆ ก็จะให้ความ รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกความเติบโต ถ้านำมาประยุกต์ในการแต่งกาย โดยใส่เสื้อ ลายแนวเส้นตั้งฉาก แนวดิ่ง จะช่วยให้ดูสูงขึ้น และถ้าออกแบบให้ดูผอมลง อาจใช้เพียง2-3 เส้น
เส้นนอน (Horizontal Line) ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นอน มั่นคง ปลอดภัย ความนิ่ง พักผ่อนเป็นธรรมชาติ
เส้นเฉียง (Oblique Line) ให้ความรู้สึกไม่มั่นคงไม่ปลอดภัย ตื่นต้น สนุกสนานแสดงการเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่ง
เส้นโค้ง (Curve) จะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว นุ่มนวล อ่อนหวาน เชื่องช้า กระชับและเป็นอันหนึ่งอันเดียว
เส้นกระจาย เป็นเส้นที่ออกจากจุดศูนย์กลางให้ความรู้สึก มีพลังกระปรี้กระเปร่า สร้างสรรค์ เดินทางออกไปทุกทิศพร้อมๆกัน พองออก แตกตัว
เส้นลักษณะอื่นๆ เช่น เส้นหยัก เส้นประ เส้นจุดผสมเส้นประ ต่างก็ให้ความรู้แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า จะนำไปประกอบกับรูปอะไร 3. ทิศทาง (DIRECTION)
ทิศทาง คือ ลักษณะที่แสดงให้รู้ว่า รูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใด ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่า มีการเคลื่อนไหว (Movement) นำไปสู่จุดสนใจ

3. รูปทรง (FORM) เกิดจากระนาบที่ปิดล้อมกันทำให้เกิดปริมาตร (Volume) มี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ รูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ
1. รูปทรงเรขาคณิต ( Geometric Form ) เป็นรูปทรงที่มีด้านแต่ละด้านคล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบ มีแกนที่สมดุล มักจะประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง ที่มีแบบแผน ได้แก่
2. รูปทรงธรรมชาติ ( Original Form) มักจะประกอบด้วยเส้นโค้ง (Curves) เส้นอิสระ ทั้งอยู่ในลักษณะสมดุลและไม่สมดุล รูปทรงธรรมชาติจะให้ความรู้สึกอ่อนไหว
3. รูปทรงอิสระ (Free Form) รูปด้านแต่ละด้านมักจะไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีความสมดุล ไม่เป็นระเบียบ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้ การเปลี่ยนแปลงรูปทรงเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความลงตัว ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ หรือมีรูปทรงใหม่ในเชิงเพิ่ม ลดปริมาตร การแยกส่วน การเจาะทะลุเป็นต้น เช่น

เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู
จากการออกแบบกลับพื้นภาพ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่า ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดำ จะทำให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ในข้อที่ 6 ตัวอักษรดำและขาวโตเท่ากันในการทำต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดำทำให้ดูโตกว่า เทคนิคนี้นิยมนำไปใช้ทำตัวอักษรพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์
ตัวอย่างสัญลักษณ์ (Logo) ที่กลับพื้นหรือใช้เทคนิค ส่วนสีขาวในสีดำ
( ภาพสัญลักษณ์ มาจากหนังสือ โลโก้ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ 2542 )
ขนาดและสัดส่วน (Size & Scale)ขนาด (Size)
ขนาด คือ การเปรียบเทียบรูปร่างหรือรูปทรง การวัดสัดส่วน ระยะหรือขอบเขต
ของรูปร่างนั้นๆสัดส่วน (Scale)
สัดส่วน คือ ความเหมาะสมของสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป มีความสัมพันธ์กัน
การหาความสัมพันธ์ของขนาดและสัดส่วนในการออกแบบต้องคำนึงถึงขนาดและสัดส่วนของผู้ใช้และกิจกรรมภายในเป็นหลัก ในงานออกแบบโดยทั่วไป มีหลักเกี่ยวกับขนาดและสัดส่วนดังนี้
- ขนาดที่แตกต่างกัน จะให้ความรู้สึกขัดกัน (Contrast)

- ขนาดใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืนกัน (Harmony)

- ความแตกต่างของขนาดทำให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหว (Dynamic)
วัสดุและพื้นผิว ( Material and Texture )วัสดุ (Material)
วัสดุ คือ วัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ โดยเลือกความเหมาะสม ตรงตามลักษณะของงาน ถ้าทำลงบนกระดาษวาดเขียน อาจเป็นรูปลอกลวดลายต่างๆแบบทึบแสง ถ้าทำลงบนแผ่นโปร่งใสก็ใช้รูปหรืออักษรลอกแบบสีโปร่งแสง เป็นต้น พื้นผิว (Texture)
พื้นผิว คือ ลักษณะเฉพาะ ที่เกิดจากโครงสร้างของวัสดุ อาจนำวัตถุดิบหลาย ๆ อย่างมา สร้างให้เกิดพื้นผิวใหม่ หรือความรู้สึกในการแยก จำแนกความเรียบความขรุขระ ความแตกต่างของพื้นผิวในทางกราฟิก สามารถแยกออกได้ด้วยประสาทสัมผัส ทางตา เป็นส่วนใหญ่ พื้นผิวที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกต่างกัน เช่น
ผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกปลอดภัย มั่นคง แข็งแรง สาก สะดุด หยาบ ระคายเคือง ในบางสถานะทำให้ดูเล็กกว่า ความจริง เช่น ผิวขรุขระของกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงหรือหิน กาบ จะดูแข็งแรงบึกบึน ในการสร้างงานกราฟิกลงบนกระดาษ เช่น รูปหลังคาบ้านลายสังกะสี กระเบื้องลอนแบบต่างๆ ผนังตึก ซึ่งลวดลาย ขรุขระ เหล่านี้จะนำมาจากแผ่นรูปลอก ซึ่งใน ปัจจุบันใช้ลวดลายสำเร็จรูปจากคอมพิวเตอร์

ผิวเรียบมัน ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง ลื่น หรูหรา วาบหวาม สดใส แสงสะท้อน ในบางสถานะทำให้ดูใหญ่กว่าปกติ เช่น ผนังตึกที่ฉาบปูนเรียบหรืออาคารที่เป็นกระจกทั้งหลัง จะดูเปราะบาง แวววาว ตัวอย่างงานกราฟิกที่ต้องการความเป็นมันวาว ที่ใช้เทคนิคแผ่นรูปลอกที่มีลายไล่โทนสำเร็จรูป
ตัวอย่างภาพกราฟิกที่สร้างความเป็นมันวาวด้วย เทคนิคพู่กันลม(airbrush) ผสมกับการวาดด้วยมือ
ระนาบ (Plane)
ระนาบ คือ เส้นที่ขยายออกไปในทางเดียวกัน จนเกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมา แบ่งได้ดังนี้
1. Overhead plane ระนาบที่อยู่เหนือศีรษะอยู่ข้างบน ให้ความรู้สึกปลอดภัย เหมือนมีหลังคาคลุม มีสิ่งปกป้องจากด้านบน
2. Vertical plane ระนาบแนวตั้ง หรือตัวปิดล้อม เป็นส่วนบอกขอบเขตที่ว่าง ตามแนวนอน ความกว้าง ความยาว
3. Base plane ระนาบพื้น ระดับดิน หรือระดับเสมอสายตา อาจมีการเปลี่ยนหรือเล่นระดับเพื่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆ

การจัดองค์ประกอบ (Composition)
1. ความสมดุล (Balance) คือ ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น
สมดุลแบบทั้ง
2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance) ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทำให้ดูมั่นคงหนักแน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศณียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น
สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance) ด้านซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้ำหนักและขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจำนวนด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ด้วยค่าความเข้ม-จางของสี เป็นต้น
3. การเน้นให้เกิดจุดเด่น (Emphasis) ในการออกแบบจะประกอบด้วยจุดสำคัญหรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วนรองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ
หลักและวิธีในการใช้การเน้น
- เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast
- เน้นด้วยการประดับ
- เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
- เน้นด้วยการใช้สี
- เน้นด้วยขนาด
- เน้นด้วยการทำจุดรวมสายตา
4. เอกภาพ (Unity)ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยที่องค์ประกอบภายในต้องกลมกลืนกันมี 2 แบบคือ
เอกภาพแบบหยุดนิ่ง (Static unity) โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตทำให้เกิดลักษณะหนักแน่น
เอกภาพแบบเคลื่อนไหว (Dynamic unity) ใช้รูปทรงหรือรูปร่างแบบธรรมชาติทำให้เคลื่อนไหวสนุกสนาน
5. ความกลมกลืน (Harmony) การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้าย ๆ กันมาจัดภาพทำให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบ คือ
1. กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน2. กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า & โลโก้3. กลมกลืนในองค์ประกอบ ได้แก่
- กลมกลืนด้วยเส้น-ทิศทาง
- กลมกลืนด้วยรูปทรง-รูปร่าง
- กลมกลืนด้วยวัสดุ -พื้นผิว
- กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทรสีที่ใกล้กัน
- กลมกลืนด้วยขนาด-สัดส่วน
- กลมกลืนด้วยน้ำหนัก

6. ความขัดแย้ง (Contrast) การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง
7. จังหวะ (Rhythm) จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องกันหรือซ้ำซ้อนกัน จังหวะที่ดีทำให้ภาพดูสนุก เปรียบได้กับเสียงเพลงอันไพเราะ ในด้านการออกแบบแบ่ง จังหวะ เป็น 3 แบบ คือ
1. จังหวะแบบเหมือนกันซ้ำๆกัน เป็นการนำเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือน ๆ กัน มาจัดวางเรียงต่อกัน ทำให้ดูมีระเบียบ (Order) เป็นทางการ การออกแบบลายต่อเนื่อง เช่น ลายเหล็กดัด ลายกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง ลายผ้า เป็นต้น
2. จังหวะสลับกันไปแบบคงที่ เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกันอย่างต่อเนื่อง เป็นชุด เป็นช่วง ให้ความรู้สึกเป็นระบบ สม่ำเสมอ ความแน่นอน
3. จังหวะสลับกันไปแบบไม่คงที่ เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกัน อย่างอิสระ ทั้งขนาด ทิศทาง ระยะห่าง ให้ความรู้สึกสนุกสนาน
4. จังหวะจากเล็กไปใหญ่หรือจากใหญ่ไปเล็ก เป็นการนำรูปที่เหมือนกัน มาเรียงต่อกัน แต่มีขนาดต่างกันโดยเรียงจากเล็กไปใหญ่หรือจากใหญ่ไปเล็กอย่างต่อ เนื่องทำให้ภาพมีความลึก มีมิติ
8. ความง่าย (Simplicity) เป็นการจัดให้ดูโล่ง สบายตา ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมีมโนทัศน์เดียว ลดการมีฉากหลังหรือภาพประกอบอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องออกไป เพราะการมีฉากหลังรกทำให้ภาพหลักไม่เด่น นิยมใช้ในการถ่ายภาพที่ปรับฉากหลังให้เบลอ เป็นภาพเกี่ยวกับดอกไม้ แมลง สัตว์ และบุคคลนางแบบ เป็นต้น
9. ความลึก (Perspective) ให้ภาพดูสมจริง คือ ภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลัก ๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตา วัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา

1 ความคิดเห็น: